สมัครสมาชิกเพื่อลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดินฟรี

สัญญาการขายฝาก

  • “ขายฝาก” เป็นสัญญาซื้อขายอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านนิยม
    ทำกัน การขายฝากนั้น โดยมากที่นิยมทำกันก็จะเป็นการขายฝาก
    ที่ดิน ส่วนทรัพย์สินโดยทั่วไปนั้นไม่ค่อยนิยมนำมาขายฝากกันซักเท่าไหร่
    เหตุที่นิยมนำที่ดินมาขายฝากนั้น ก็เพราะการขายฝากนั้น เมื่อขาย
    กันแล้ว ทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ได้หลุดไปเป็นของคนซื้ออย่างเด็ดขาด
    เพราะว่ากฎหมายยังได้ให้สิทธิกับผู้ขาย ที่จะสามารถติดตามเอา
    ทรัพย์สินของตัวเองที่ขายไปกลับคืนมาได้ ภายในระยะเวลาที่ตกลงกันเอาไว้ ซึ่งก็คือการขอไถ่คืนนั่นเอง
  • การขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้ทำการซื้อขายกันแล้วกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น จะตกไปเป็นของคนซื้อโดยทันที แต่ว่ามีข้อแตกต่างระหว่างการซื้อขายธรรมดากับการขายฝาก อยู่ที่การมีข้อตกลงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเพิ่มเติมขึ้นมาอีกว่า ผู้ขายฝากสามารถที่จะเอาเงินมาไถ่ทรัพย์สินที่ทำการซื้อขายฝากไปแล้วนั้น กลับคืนมาเป็นของคนขายฝากได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ร่วมกันเท่านั้น  หากไม่มีการมาขอไถ่ภายในระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ ข้อตกลงเรื่องการไถ่คืนนั้นก็สิ้นผลไป กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากกันไว้ก็จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์ทันที
  • ระยะเวลาในการขอไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนนั้น ผู้ซื้อขายฝากสามารถที่จะตกลงกันได้เองว่า จะกำหนดให้มาไถ่ภายในระยะเวลากี่ปีกี่เดือน แต่ว่าระยะเวลาเหล่านั้นต้องไม่เกิน 10 ปี หากทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน โรงเรือน แพ หรือต้องไม่เกิน 3 ปี ถ้าทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ทั่วไป เช่น ทองคำ รถยนต์ แหวนเพชร เป็นต้น
  • กรณีที่ได้กำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนเอาไว้ตามสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าภายหลังผู้ขายฝากไม่สามารถที่จะหาเงินมาไถ่ได้ตามสัญญา หรือมีกรณีอย่างอื่นอย่างใดที่ทำให้ไม่สามารถไปไถ่ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญา ผู้ขายฝากสามารถที่จะไปขอขยายเวลาในการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากกับผู้รับซื้อฝากได้ โดยการขยายระยะเวลาไถ่นั้น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ และกรณีหากทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ การขยายเวลาไถ่ที่ตกลงกันใหม่นั้นจะต้องทำเป็นหนังสือแล้วนำไปจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ด้วยจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย และที่สำคัญ การขอขยายระยะเวลาในการไถ่นั้น ต้องทำก่อนที่จะครบกำหนดระยะเวลาไถ่เดิม
  • การขายฝากนั้น เมื่อสามารถที่จะขอไถ่ทรัพย์สินคืนได้ การขอไถ่นั้นก็ย่อมจะมีค่าตอบแทนแก่ผู้รับซื้อฝากบ้าง ซึ่งเราเรียกกันว่าสินไถ่ หรือตามที่ชาวบ้านเรียกกันก็เรียกว่า ดอกเบี้ย ซึ่งสินไถ่หรือดอกเบี้ยนี้ จะกำหนดเอาไว้ในสัญญาขายฝากให้ชัดเจนเลยก็ได้ว่า หากจะมีการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นกลับคืนไป  ผู้ไถ่จะต้องเสียเงินค่าสินไถ่เป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ แต่ถ้าคู่สัญญาไม่ได้กำหนดกันไว้ ตามกฎหมายก็บอกให้สามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ตามราคาที่ขายฝากกัน แต่หากว่าได้กำหนดค่าสินไถ่กันเอาไว้แล้ว แต่ปรากฏว่าค่าสินไถ่ที่ได้กำหนดเอาไว้นั้น เป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าราคาขายฝากมาก เมื่อคิดคำนวณแล้วเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี กฎหมายก็บอกเอาไว้ว่า ให้ผู้ขายฝากไถ่ได้ตามราคาขายฝาก บวกผลประโยชน์ตอบแทนหรือดอกเบี้ยให้แก่ผู้รับซื้อฝาก เมื่อคิดแล้วไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี
  • ผลของการไถ่  เมื่อได้มีการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนภายในกำหนดเวลาตามสัญญา หรือตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว ทรัพย์สินซึ่งขายฝากไว้นั้น จะโอนกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ หรือของผู้ขายฝากซึ่งเป็นเจ้าของเดิมโดยทันทีตามผลของกฎหมายอีกครั้ง และหากกรณีที่ผู้รับซื้อฝากไม่ยอมให้ไถ่ ปฏิเสธ หรือหลบเลี่ยง เพื่อไม่ให้ผู้ไถ่ทำการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ตามกำหนดเวลา ซึ่งจะมีผลให้ทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับซื้อฝากโดยเด็ดขาดนั้น หากกรณีเป็นอย่างนี้ ทางออกของผู้ขายฝากที่จะขอไถ่นั้น ก็สามารถทำได้โดยการวางเงินสินไถ่ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาไถ่ โดยต้องสละสิทธิในการถอนทรัพย์ที่วางเอาไว้ด้วย ซึ่งผลของการวางทรัพย์นั้นก็จะทำให้ทรัพย์สินซึ่งขายฝากนั้นโอนกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่หรือของผู้ขายฝากเดิมอีกครั้งหนึ่งโดยทันทีเช่นกัน
    ขอบคุณข้อมูลจาก chawbanlaw.com
แก้ไขเมื่อ : 20 ก.พ. 2558 15:14     ดู 1,103 ครั้ง



คู่มืออื่นเกี่ยวกับ กฏหมายอสังหาริมทรัพย์
การเวนคืนกับการประเมินค่าทรัพย์สิน
การเวนคืนที่ดินเพื่อประโยชน์ในราชการของส่วนราชการต่างๆ มักมีเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน เพราะทางราชการยังไม่จ่ายค่าทดแทนให้หรือจ่ายให้ล่าช้า เป็นเหตุให้มีกรณีร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่เสมอตลอดมา
ถ้ามีคนหายสาบสูญไป ธุรกิจหรือทรัพย์สินจะทำอย่างไรล่ะ
เมื่อมีคนหายออกไปจากบ้าน หรือออกไปจากบ้านของเราเอง ไม่ว่าจะออกไปทำงาน หรือออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ แล้วจากนั้นก็หายไปเลยโดยไม่มีใครพบเห็นอีก ที่ร้ายไปกว่านั้นคนที่อยู่ข้างหลังก็คอยเป็นห่วงเพราะไม่รู้ว่าคนที่หายไปนั้นมีชีวิตอยู่ หรือว่าตายไปแล้ว อย่างนี้ก็ยุ่งละครับ
จำทำยังไง ถ้าซื้อที่ดินแล้วได้ที่ดินเนื้อที่ไม่ครบตามสัญญา
การจะซื้อที่ดิน นอกจากจะดูสภาพของที่ดินแปลงนั้นว่ามีสภาพ ทำเลของที่ดินดีหรือไม่แล้ว ยังต้องทำการตรวจสอบเนื้อที่ดิน จากโฉนดที่ดิน หรือหนังสือ น.ส.3 แปลงนั้นด้วยว่ามีการระบุเนื้อที่เอาไว้เท่าไหร่ แต่การตรวจสอบแค่นี้ยังไม่พอนะครับ ยังจะต้องทำการตรวจสอบจากเนื้อที่ดินจริง
สัญญาการขายฝาก
“ขายฝาก” เป็นสัญญาซื้อขายอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านนิยม ทำกัน การขายฝากนั้น โดยมากที่นิยมทำกันก็จะเป็นการขายฝาก ที่ดิน ส่วนทรัพย์สินโดยทั่วไปนั้นไม่ค่อยนิยมนำมาขายฝากกันซักเท่าไหร่ เหตุที่นิยมนำที่ดินมาขายฝากนั้น ก็เพราะการขายฝากนั้น เมื่อขาย กันแล้ว ทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ได้หลุดไปเป็นของคนซื้ออย่างเด
สัญญาการกู้ยืมเงินและเงินกู้
การกู้เงิน เป็นเรื่องที่ชาวบ้านชาวช่องโดยทั่วไปนิยมชมชอบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่เศรษฐกิจมันไม่ค่อยจะดี ข้าวของที่จะเอามาจับจ่ายใช้สอบก็ทยอยขึ้นราคา ทำให้ในแต่ละเดือนเงินที่ได้มาก็ไม่พอที่จะใช้จ่าย บางคนที่มีภาระมากก็ชักหน้าไม่ค่อยถึงหลัง สุดท้ายพอไม่ไหวมันก็จำเป็นต้องกู้เงินจากคนอื่นมาใช้สิ
อ่านกฏหมายอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด

ผู้สนับสนุน
Facebook