สมัครสมาชิกเพื่อลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดินฟรี

การติดตั้งระบบท่อประปา

การติดตั้งระบบท่อประปา

        น้ำ เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญมากสำหรับสิ่งมีชีวิตทั่วไป โดยเฉพาะมนุษย์ ทั้งการอุปโภค บริโภค ดังนั้นบ้านเราจึงต้องมีการวางท่อระบบประปา  เพื่อสะดวกต่อการใช้สอย และต้องคำนึงถึงการวางระบบที่ดี มีคุณภาพ  การจัดวางตำแหน่งท่อน้ำดี และท่อน้ำทิ้งด้วย  เพื่อประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่ยาวนาน

ลักษณะการวางท่อประปา สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

1. การวางท่อแบบก้างปลา การวางท่อในลักษณะนี้ จะเป็นแนวเส้นตรง เหมาะสำหรับการวางท่อประปาในระยะสั้นๆ เนื่องจากทิศทางการไหลและความดันของน้ำ น้ำจะไหลแรงในช่วงต้นทาง หากเดินท่อยาว ในส่วนปลายท่อน้ำจะไหลเบา

2. การวางท่อแบบตาข่าย การวางท่อในลักษณะนี้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยม คือ ปลายท่อประปาประสานรวมกันที่ต้นทาง แรงดันน้ำจะเท่ากันตลอดทั้งแนว การวางท่อแบบนี้จึงเป็นที่นิยมและเหมาะสมมากที่สุด

คู่มือการติดตั้งระบบท่อประปาในบ้าน  การติดตั้งท่อประปาในบ้าน

ขั้นตอนการวางท่อประปา สามารถสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้

1. กำหนดเขตแนวสำหรับขุดวางท่อ และปรึกษา ตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. ตีเส้นให้ชัดเจนและใช้เครื่องตัดคอนกรีตตามแนวท่อให้มีความลึกประมาณ 5 เซนติเมตร (ถ้ามี)

3. ทุบคอนกรีตตามแนวขุดวางท่อประปา (ถ้ามี)

4. ตักเศษคอนกรีตไปทิ้ง จะเลือกใช้เครื่องจักร หรือแรงงานตามความเหมาะสมกับเศษคอนกรีต

5. ขุดร่องดินตามแนววางท่อประปาให้ได้ความลึกหลังท่อตามกำหนดและความกว้างห่างจากข้างท่อข้างละไม่เกิน 0.15 เมตร หรือตามความเหมาะสมเพื่อให้เครื่องบดอัดสามารถทำงานได้

6. ปรับระดับดิน หรือกลบด้วยทราย ขึ้นกับที่ระบุไว้ในโครงการ ปรับระดับในร่องท่อให้ได้ระดับและต้องระวังไม่ให้มีเศษคอนกรีต ก้อนหินอยู่ในแนวร่องท่อ หากมีต้องเก็บออกให้หมด

7. สำรวจความผิดปกติของท่อประปา ก่อนยกท่อประปาลงร่องดิน จากนั้นจึงวางท่อลงในร่องดินที่ปรับบดอัดแล้ว ตามข้อ 6 และทำการต่อท่อแต่ละท่อน

8. ก่อนต่อท่อแต่ละท่อนต้องทำความสะอาดตรงบริเวณข้อต่อ และภายในท่อให้สะอาดเสียก่อน

9. กลบหลังท่อ ข้างท่อด้วยทรายหรือดินตามที่ระบุไว้ในโครงการประมาณ 0.15 เมตร โดยรอบ จากนั้นอัดและกระทุ้งดินหรือทรายให้แน่น ซึ่งต้องระวังไม่ให้เกิดอันตรายกับท่อที่ฝังไว้แล้ว โดยทำการบดอัดหลังท่อเป็นชั้นๆจนถึงระดับชั้นผิวเดิม

10. เมื่อเลิกหรือหยุดงานในแต่ละวัน ต้องอุดปลายท่อ เพื่อป้องกันเศษขยะ หรือดินไหลเข้าๆป

11. ทดสอบแรงดันในเส้นท่อเป็นช่วงๆ ความยาวทดสอบกำหนดขณะก่อสร้าง

12. ทำการซ่อมแซมผิวทางหรือทางเท้าให้คืนสู่สภาพเดิม

แก้ไขเมื่อ : 29 พ.ค. 2557 00:29     ดู 11,581 ครั้ง



คู่มืออื่นเกี่ยวกับ ความรู้ คู่บ้าน
ย้ายแอร์จากบ้านหลังเก่าไปบ้านใหม่ คิดดีๆ บางทีซื้อใหม่อาจจะคุ้มค่ากว่า
ย้ายแอร์จากบ้านหลังเก่าไปบ้านหลังใหม่ คิดดีๆ บางทีซื้อใหม่อาจจะคุ้มกว่า
บ้าน 2 ชั้น ร่วมสมัย หลังคาปั้นหยา 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ งบ 2.3 ล้านบาท
บ้านแนวร่วมสมัย 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ พื้นที่ใช้สอยรวม 205 ตารางเมตร ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบจากทางเพจ HOUSE41studio แบบบ้าน
DIY การล้างแอร์ด้วยตัวเอง รวมถึงคอยล์เย็น และ พัดลมแอร์ด้วย
DIY การล้างแอร์ด้วยตัวเอง ไม่ต้องง้อช่าง
5 ต้นไม้ฟอกอากาศ ดูดสารพิษในบ้านได้โดยต้นไม้แบบไทยๆ
ช่วงวิกฤษของมลพิษทางอากาศตอนนี้ใครก็ต้องหาวิธีเอาตัวรอดจากฝุ่นในเมืองกรุงให้ได้ นอกจากหน้ากากกันฝุ่นแล้วยังมีการปลูกต้นไม้ไว้ในบ้านก็ช่วยได้เช่นกัน วันนี้ Property2share ขอนำเสนอต้นไม้ฟอกอากาศ ที่ควรปลูกไว้ติดบ้านครับอากาศจะได้สะอาดขึ้น
สร้างบ้านอย่างไร ไม่ต้องกลัวน้ำท่วม
เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากให้เกิดภัยน้ำท่วม จากเหตุการณ์น้ำท่วมประเทศไทยครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2554 หลายคนคงต้องการยกพื้นบ้านให้สูงขึ้น หรือเรียกอีกอย่างว่า “การดีดบ้าน” ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี คือ การขุดดินใต้บ้าน สกัดตอม่อเดิมเพื่อแยกบ้านออกจากฐาน
อ่านความรู้ คู่บ้านทั้งหมด

ผู้สนับสนุน
Facebook